วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ipv6คืออะไร?

ipv6คืออะไร?
lIPv6 คือ?lIPv6 พัฒนามาจาก ระบบเลข IP(IP Address) และที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า IPv4 (นั่นคือ IP version 4)
lIPv6 พัฒนามาจาก ระบบเลข IP(IP Address) และที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า IPv4 (นั่นคือ IP version 4) lIPv6 มีอีกชื่อว่า IPng (ย่อมาจาก Next Genera
lIPv6 เป็นเวอร์ชั่นที่มาแทนที่ เวอร์ชั่น 4(IPv4)lจำนวนผู้ใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดจึงทำให้การกำหนด ที่อยู่แบบ IP ทั้งหมดนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้งานlจากปัญหาดังกล่าวในปี ค.ศ. 1990 คณะทำงาน IETF จึงได้เริ่มคิดค้นวิธีกำหนดโครงสร้างที่อยู่ IP แบบใหม่ซึ่งเป็นรุ่นที่ 6 (IPv 6) เพื่อนำมาทดแทนรุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันtion) lIPv6 มีอีกชื่อว่า IPng (ย่อมาจาก Next Generatio
•1. ให้การสนับสนุนจำนวนเครื่อง Host ได้หลายพันล้านเครื่องแม้จะต้องทำงานในตารางข้อมูลที่มีขนาดจำกัด•2. ลดขนาดตารางเลือกทางเดินข้อมูลของ Router • 3. ปรับปรุง Protocol ให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น •4. มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นโดยการกำหนดบัญชีผู้ใช้งานn)




l5. ให้ความสำคัญกับประเภทของการบริการโดยเฉพาะการให้บริการตอบสนองต่อเนื่อง
6. สนับสนุนการส่งข้อมูลแบบหลายจุดโดยใช้วิธีการกำหนดขอบเขต
7. แก้ไขให้ Host สามารถเคลื่อนย้ายข้ามเขตให้บริการโดยไม่ต้องเปลี่ยนหมายเลขที่อยู่
8. ยอมให้ Protocol มีความอ่อนตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
9. ยอมให้ Protocol ทั้งแบบใหม่และแบบเก่าใช้งานร่วมกันได้

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีแห่งอนาคต

โดย ทศพนธ์ นรทัศน์
เทคโนโลยี "Embeddec Internet" หรือ "อินเทอร์เน็ตแบบฝังตัว" ได้เป็นที่สนใจขึ้นมาอีกครั้งเมื่อ Intel ได้ออกมาชี้ว่าโลกอินเทอร์เน็ตได้ก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีฝังตัว หรือ Embedded Technology  ตลาดเกิดใหม่ใช้การประมวลผลฝังตัวเพิ่มมากขึ้นทุกระบบไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งภายในบ้านและที่ทำงาน การเดินทาง หรืออยู่กับที่ โดยอินเทลเชื่อว่าในอนาคตอุปกรณ์ 1.5 หมื่นล้านชิ้นจะต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต ซีพียูจะมีขนาดเล็กลง กินไฟน้อย ผู้เขียนเห็นว่านี่คือเทคโนโลยีกระแสหลักที่จะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะยูสเซอร์ไม่อาจจะอยู่ในโลกที่ไร้อินเทอร์เน็ตได้อีกต่อไป และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็ไม่จำเป็นต้องผ่าน PC หรือ Laptop หรือ PDA เท่านั้น

Embedded Internet คืออะไร
Embedded Internet หรืออินเทอร์เน็ตแบบฝังตัว คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใส่ไว้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล mp3 mp4 player โทรสาร พรินเตอร์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น รวมตลอดถึงวัสดุ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน (Office Automation) เครื่องจักร ยานยนต์ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ  การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตดังกล่าว จะผ่านโปรโตคอล TCP/IP stack ซึ่งเป็นพื้นฐานการเชื่อมต่อ โดยสื่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อจะมีทั้งผ่านสายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า เครือข่าย LAN, MAN, WAN, Wi-Fi, WiMax หรือแม้กระทั่งระบบสื่อสารดาวเทียม
ในอดีตที่ผ่านมาแม้กระทั่งทุกวันนี้ แอพพลิเคชั่นหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ส่วนใหญ่ต้องใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมากในการประมวลผลข้อมูลที่มีความซับซ้อน (Complex Algorithms) แต่ระบบฝังตัวกลับมีข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้น ดังนั้นหากสามารถนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีฝังตัว ก็จะสามารถส่งข้อมูลไปทำการประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ได้ ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตฝังตัวดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า “External Intelligence”  อินเทอร์เน็ตจึงถือได้ว่าเป็นเครือข่ายสื่อสารข้อมูลต้นทุนต่ำสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตฝังตัวจึงเป็นก้าวต่อไปในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องสร้างโปรแกรมเมอร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ฝังตัวและวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP และ IPV6 (Internet Protocol Version 6) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในโลกอิเล็กทรอนิกส์
ระบบฝังตัว (Embedded Systems) หรือระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว จึงเป็นสมองกลที่ฝังไว้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร เครื่องจักรกล เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ของรถยนต์ เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดในชีวิตของเรา ก็คือโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โทรศัพท์แบบ IP Phone หรือเครื่องถ่ายเอกสารที่สามารถ Scan เอกสารแล้วส่งทาง e-Mail ได้ เป็นต้น การเพิ่มซอฟต์แวร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ฝังไว้ภายใน Embedded System นี้เองได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ มีความสามารถสูงขึ้น
หากย้อนกลับไปดูในอดีต อินเทอร์เน็ตได้เชื่อมต่อกันด้วยเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเท่านั้น ต่อมาจึงเริ่มขยายการเชื่อมต่อมาสู่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากขึ้น และเมื่อเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความก้าวหน้าขึ้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจึงได้เข้าสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่นำมาสู่ยุคที่เรียกว่า “Ubiquitous” หรือยุคที่เราสามารถเข้าข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา (Everywhere Everytime) และในอนาคตอันใกล้นี้เรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่มหัศจรรย์ยิ่งใน ค.ศ. 2015 เมื่อมนุษย์สามารถสั่งการเว็บจากที่แห่งใดด้วยอุปกรณ์อะไรก็ได้ หรือที่เรียกว่า “Pervasive web” เพราะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ถูกฝังตัวไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรานั้นเอง

สถานะภาพซอฟต์แวร์ฝังตัวในประเทศไทย
ผู้เขียนขอนำเสนอภาพกว้าง ๆ ของซอฟต์แวร์ฝังตัวในประเทศไทย ซึ่ง Embedded Internet ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นด้วย จากข้อมูลในเอกสารความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฝังตัวของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ได้ระบุว่า โครงสร้างหลักของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ประกอบด้วยตลาดย่อย 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Transaction Software, กลุ่ม Embedded Software และกลุ่ม Digital Content โดยซอฟต์แวร์ฝังตัว (Embedded Software) เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เกิดฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย มีบทบาทและความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มที่ผลิตภัณฑ์จะเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น จำเป็นต้องควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ฝังตัว
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมาณการว่ามูลค่าของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฝังตัวในปี 2552 จะมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท และมีความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมนี้ประมาณหนึ่งหมื่นคน ทำให้สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ร่วมกันส่งเสริมให้มีการผลิต Microchip เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฝังตัวเป็น 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตซอฟต์แวร์ฝังตัวให้แก่ประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญของภูมิภาค

พลังแห่ง Embedded Internet
พลังของ Embedded Internet จะทำให้การจัดการควบคุมสั่งการอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Device Management) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี UPnP (The Universal Plug and Play) ซึ่งเป็นบริการที่อนุญาตให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถค้นหาและใช้งานอุปกรณ์อื่น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ผู้ใช้สามารถ Remote เข้าไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถ Monitor การทำงานของอุปกรณ์ หรือการเขียนโปรแกรมควบคุมให้อุปกรณ์ส่งข้อมูลอัตโนมัติกลับมายังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือส่งข้อมูลแจ้งเตือนต่าง ๆ เข้ามายังผู้ดูแลระบบ เช่น กรณีเตือนภัยน้ำท่วม ดินถล่ม สึนามิ เป็นต้น
ต่อแต่ไปนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ จะอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตแบบฝังตัว กล่าวคือการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต การท่องเว็บ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่อง PC หรือ Laptop เช่นเดิมอีกต่อไป ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การที่เราใช้โทรศัพท์มือถือในการท่องเว็บ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สนทนาออนไลน์ เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตฝังตัวก็มีความท้าทายในแง่ที่ว่ามันจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ใน Platforms ที่แตกต่างกัน ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
หน้ังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้นำเสนอเรื่อง อินเทอร์เน็ต ผังตัวอนาคตโลกยุคใหม่ไว้ว่า “Pat Gelsinger” รองประธานอาวุโส และผู้จัดการทั่วไป ส่วนธุรกิจดิจิทัล เอ็นเตอร์ไพร์ซ กรุ๊ป บริษัท อินเทล คอร์เปอเรชั่น กล่าวบนเวที Intel Development Forum: IDF ซึ่งจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก ว่าโลกอินเทอร์เน็ตในมุมมองของอินเทลจะเข้าสู่ยุค Embedded Internet แบบเต็มตัว ซึ่งวันนี้ตลาดเกิดใหม่หันมาใช้ระบบประมวลผลแบบฝังตัวกันมากขึ้น โดยยกตัวอย่างของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัย ระบบวิดีโออัจฉริยะ ระบบงานทางการแพทย์ ระบบข้อมูลและความบันเทิงในรถยนต์ รวมทั้งระบบอัตโนมัติบ้านพักอาศัย ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา
Gelsinger กล่าวอีกว่าตลาดนี้ก็คือโอกาสการเติบโตอีกแบบหนึ่งสำหรับอินเทลและอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งคาดว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Embedded Internet จะทำให้มีอุปกรณ์ถึง 1.5 หมื่นล้านชิ้น ที่จะใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตในอนาคต
อินเทลประกาศบนเวทีนี้ด้วยว่า จะเตรียมเปิดตัวชิป “Atom Dual Core” สำหรับตลาดเน็ตทอป (เดสก์ทอป) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ชิปดังกล่าวสร้างขึ้นจากทรานซิสเตอร์ที่เล็กที่สุดในโลก และซีพียูชิ้นเล็ก ๆ นี้ ก็เป็นพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนแนวทางการออกแบบคอมพิวเตอร์ใหม่ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับขนาดที่เล็กกะทัดรัด รวมถึงราคาที่ต่ำลง ทำให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลกสามารถออกแบบโน็ตบุ๊คและเน็ตทอป ขยายตลาดสู่ผู้ใช้กลุ่มใหม่ ๆ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เดิมได้อย่างทั่วถึงเมื่อผู้ผลิตสามารถนำเสนอคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊คและเน็ตทอปที่ใช้ Intel Atom Processor ราคาประหยัดกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป ย่อมส่งผลให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ทำให้สังคมโลกกลายเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ที่สมบูรณ์มากขึ้น และยังเป็นการช่วยลดช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยี (Digital Divide)” ซึ่ง Gelsinger คาดการณ์ว่า “Atom Core” จะทำงานด้วยความเร็ว 1.6 GHz รองรับการทำงานแบบไฮเปอร์เทรดดิ้ง กล่าวคือ ซีพียูหนึ่งคอร์สามารถประมวลผลได้เหมือนกับซีพียูแบบดูอัลคอร์ ทำให้ชิปอะตอมดูอัลคอร์จะประมวลผลในรูปแบบเดียวกันกับชิปแบบควอดคอร์
ส่วน Craig R. Barrett ประธานของอินเทล คอร์เปอเรชั่น กล่าวว่า เขารู้สึกชื่นชมต่อชุมชนนักพัฒนาที่สร้่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ธุรกิจและเทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่สภาพไร้พรมแดนในโลกไอที เพราะเทคโนโลยีคือเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายเร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน ทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม
Steve Norman ผู้ช่วยผู้จัดการของ Industrial and Distribution Business Unit NEC Electronics (Europe) GmbH ได้ยกตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตฝังตัวมาใช้กับเครื่องใช้ที่ใกล้ชิดชีวิตประจำวันของมนุษย์ นั้นก็คือ เครื่องซักผ้าอินเทอร์เน็ตฝังตัวจะทำให้เครื่องซักผ้าสามารถแสดงเมนูการทำงานและคำสั่งต่าง ๆ ด้วยภาษาที่เปลี่ยนไปตามประเทศที่เครื่องซักผ้านั้นถูกนำไปติดตั้งใช้งาน โดยเชื่อมโยงจากฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การปรับคุณภาพของน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าที่ซัก  นอกจากนี้เครื่องยังสามารถตั้งโปรแกรมให้ผู้ใช้จ่ายค่าบริการตามที่ซักได้ด้วย (Pay-per-wash) ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจให้บริการเครื่องซักผ้าอัตโนมัติแก่ผู้ที่ไม่ต้องการซื้อเครื่องซักผ้าเป็นของตนเอง หรือหากต้องมีการปรับราคาค่าบริการให้สูงขึ้นหรือต่ำลงก็สามารถ update ค่าบริการไปยังเครื่องซักผ้าต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กันจากส่วนกลาง แม้กระทั่งเวลาที่เครื่องมีปัญหา เครื่องก็สามารถแจ้งปัญหาเข้ามายังเจ้าของได้ หากปัญหาไม่รุนแรงผู้ดูแลก็จะทำการซ่อมจากระยะไกลได้ (Remote Fix) ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์ตามช่าง เพราะช่างจะได้รับแจ้งปัญหาดังกล่าวจากเครื่องซักผ้าโดยอัตโนมัติทาง e-Mail  ยิ่งกว่านั้นผลิตภัณฑ์ยังสามารถควบคุมการใช้พลังงานอย่างประหยัดที่สุด เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
ไม่เพียงเท่านั้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตฝังตัวที่อยู่ในเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านยังช่วยให้เจ้าของบ้านทำการตรวจสอบว่าขณะนี้ที่บ้านเป็นอย่างไรโดยอัตโนมัติผ่านทางเว็บเบราเซอร์จากทุก ๆ ที่ในโลกขณะที่เขาเหล่านั้นกำลังพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ เจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์มาถามเพื่อนบ้านเช่นในอดีตอีกต่อไป
มีผู้กล่าวกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นยุคแห่งวงจรสมองกลฝังตัว (Embedded Boom) หรือโลกไอทีจะเข้าสู่ยุคการประมวลผลที่มองไม่เห็น (Invisible Computing) โดยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนรูปโฉมไปมีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็นและประมวลผลในหลายลักษณะ การเข้าสู่ยุคแห่งวงจรสมองกลฝังตัวดังกล่าว เป็นผลมาจากจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์โมบาย (Mobile Devices) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีจำนวนครัวเรือนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือ Broadband Internet จาก 100 ล้านครัวเรือน เป็นมากกว่า 500 ล้านครัวเรือน และปริมาณข้อมูล Interactive ที่เพิ่มขึ้น โดยมีเนื้อหาในเครือข่ายเพิ่มขึ้นเป็น 40 เท่าตัว รวมทั้งการเติบโตของธุรกรรมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตขึ้นถึง 100 เท่าตัว

ภัยคุกคามที่มากับ Embedded Internet
ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) ได้กล่าวถึงภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ มัลแวร์ สปายแวร์ หรือ Hacker ที่จะมากับเทคโนโลยี UPnP หรือ Universal Plug and Play ซึ่งเป็นบริการที่อนุญาตให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถค้นหาและใช้งานอุปกรณ์อื่นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายใต้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบฝังตัว พบว่ามีช่องโหว่ที่ถูกค้นพบอย่างน้อย 2 จุดด้วยกัน ช่องโหว่แรกเกี่ยวข้องกับ Buffer Overrun ซึ่งหากผู้บุกรุกส่ง NOTIFY directive ที่ผิดปกติมายังเครื่องเป้าหมายแล้ว จะทำให้ผู้บุกรุกสามารถควบคุมเครื่องเป้าหมายได้ทันที ส่วนช่องโหว่ที่สองนั้นเกิดขึ้นเนื่องจาก UPnP ไม่สามารถจำกัดขั้นตอนของการค้นหาข้อมูลจากอุปกรณ์ใหม่ที่ถูกค้นพบ โดยปกติแล้วอุปกรณ์ใหม่จะส่ง NOTIFY directive มาเพื่อแจ้งว่าให้เครื่องที่รัน UPnP สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของอุปกรณ์ใหม่และวิธีในการเข้าใช้งานได้จากที่ใด ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อธิบายดังกล่าวอาจจะเป็น Third-party server ซึ่งไม่ใช่อุปกรณ์ใหม่ดังกล่าวก็ได้ และ UPnP เองก็ไม่สามารถทำงานตามกระบวนการดังกล่าวได้ ก่อให้เกิดการโจมตีแบบ DoS (Denial of Service) ที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบด้วยกันคือ
รูปแบบแรก ผู้บุกรุกจะส่ง NOTIFY directive มายังเครื่องที่รัน UPnP เพื่อแจ้งว่าให้ไปดาวน์โหลดข้อมูลที่อธิบายการใช้งานอุปกรณ์ตัวใหม่ได้จากเซิร์ฟเวอร์ใดและ port ใด ถ้าเซิร์ฟเวอร์ถูกตั้งให้รับ echo service ใน port ดังกล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รัน UPnP ดังกล่าวจะเกิดการวนลูปของการดาวน์โหลดที่ว่างเปล่า ทำให้ทรัพยากรภายในเครื่องถูกใช้ไปจนหมด ผู้บุกรุกสามารถส่ง Message ดังกล่าวนี้ไปยังเป้าหมายได้โดยตรงโดยใช้หมายเลข IP Address หรืออาจจะส่ง Message ดังกล่าวไปยัง Broadcast Address เพื่อส่งให้กับทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดการโจมตีที่รุนแรงมากขึ้น
รูปแบบที่สอง ผู้บุกรุกจะส่งรายชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Third-party มาให้ผ่านทาง NOTIFY directive ซึ่งหากมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใดสนองตอบ (Response) ก็จะก่อให้เกิดการโจมตีแบบ Flood ไปยัง Third-party Server ดังกล่าวได้ ถือได้ว่าเป็นการโจมตีแบบ DDoS (Distributed Denial of Service) เช่นเดียวกับแบบแรก ผู้บุกรุกสามารถส่ง Message นี้ตรงไปยังเป้าหมายโดยใช้หมายเลข IP Address หรืออาจจะส่ง Message ดังกล่าวไปยัง Broadcast Address เพื่อส่งให้กับทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดการโจมตีที่รุนแรงมากขึ้น
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือบางตัวอย่างของภัยคุกคามที่จะมาพร้อม ๆ กับอินเทอร์เน็ตฝังตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ย่อมไม่อาจไว้วางใจในความปลอดภัยใด ๆ ได้เลย ภัยคุกคามนั้นจะมีอยู่รอบด้าน เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน และที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตฝังตัวอาจนำไปสู่การก่อการร้าย การก่อวินาศกรรมในรูปแบบที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ทิศทางการพัฒนา
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฝังตัวไว้ดังนี้
         1.
เสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้สามารถแข่งขันได้ เป็นแหล่งผลิตซอฟต์แวร์ฝังตัว (Embedded Software) ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ
         2.
ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฝังตัว และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำซอฟต์แวร์ผังตัวไปใช้กับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น
         3.
พัฒนากำลังคนด้านซอฟต์แวร์ฝังตัว ทั้งกำลังคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว ให้มีทักษะความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการปฏิบัติงานและส่งเสริมโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระ
ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่าภาครัฐควรส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฝังตัว โดยผ่อนคลายกฎระเบียบ ขั้นตอนการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในธุรกิจดังกล่าว และผลิตบุคลากรเพื่อรองรับตลาดแรงงานนี้ โดยให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมดังกล่าวด้วย

บทส่งท้าย
Embedded Internet ในวันนี้ จึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ซึ่งมีส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และด้วยเทคโนโลยี IPV6 อุปกรณ์ทุกอย่างในโลกนี้จึงสามารถมี IP Address ได้โดยไม่ต้องกลัวว่า IP Address จะขาดแคลนเช่นเดียวกับกรณี IPV4
IPV6 ทำให้เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เพราะในโลกอนาคต อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นเครือข่ายสื่อสารหลักเฉกเช่นเดียวกับโครงข่ายการให้บริการไฟฟ้าในปัจจุบัน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาด้านไอทีของไทยจึงต้องเตรียมตัวรองรับเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้ใช้งาน
แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบฝังตัวจะเกิดประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อเรามีโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยต้นทุนต่ำและครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่เช่นนั้นมันก็เหมือนกับมีเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ไม่มีไฟฟ้า สุดท้ายก็จะไม่มีประโยชน์อันใด